โรคหัวโต (Hydrocephalus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคหัวโต (Hydrocephalus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

20.03
37004
0

โรคหัวโต หรือภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะน้ำในสมอง ซึ่งเป็นที่มีน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังในโพรงสมองมากเกินไป การคั่งของน้ำมักเกิดจากการอุดตันการระบายของเหลว

แพทย์อาจใช้การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และเทคนิคการถ่ายภาพทางการแพทย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อวินิจฉัยและดูว่าเกิดหัวโตหรือไม่

การคั่งของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังจะเพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะ โดยจะไปกดทับเนื้อเยื่อสมอง

ในบางกรณี อาจทำให้ศีรษะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ป่วยเกิดอาการชักและสมองได้รับความเสียหาย หัวโตอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา

อาการอื่น ๆ ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน ตาพร่ามัว ปัญหาด้านสติปัญญาและการเดินลำบาก

การที่จะรักษาหัวโตให้หายได้หรือไม่ จะขึ้นอยู่กับว่า การวินิจฉัยและรักษาจะเกิดขึ้นได้เร็วแค่ไหน และมีโรคก่อนหน้าอื่น ๆ หรือไม่

คำว่า “น้ำในสมอง” ไม่ใช่คำอธิบายที่แม่นยำซะทีเดียวเนื่องจากน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังต่างหากที่เข้ามาอยู่ในสมอง แต่ไม่ใช่น้ำธรรมดาทั่วไป น้ำหล่อเลี้ยงสมองมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่

  • ปกป้องระบบประสาท

  • ขจัดของเสีย

  • บำรุงสมอง

สมองจะผลิตน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังประมาณ 1 ไพน์ต่อวัน โดยน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังจะถูกดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือด หากกระบวนการผลิตและกำจัดน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังถูกรบกวน น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังจะสะสมทำให้เกิดหัวโตได้

หัวโตประเภทต่าง ๆ

หัวโตมีหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่:

หัวโตแต่กำเนิด

การที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีการติดเชื้อบางอย่าง เช่น หัดเยอรมันหรือคางทูม หรือเกิดความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง ซึ่งเป็นหนึ่งในความบกพร่องทางพัฒนาการที่พบบ่อยมากกว่ากลุ่มอาการดาวน์หรือหูหนวก ของเด็กและทำให้เด็กหัวแต่ตั้งแต่กำเนิด

หัวโตหลังคลอด

ภาวะนี้จะเกิดขึ้นหลังคลอด ซึ่งโดยปกติแล้วเกิดจากโรคหลอดเลือดสมองนื้องอกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือเกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง

ภาวะทางเดินของน้ำในโพรงสมองไม่อุดตัน

หัวโตประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อน้ำไขสันหลังถูกปิดกั้นหลังจากออกมาจากโพรงสมองแล้ว จึงทำให้น้ำไขสันหลังยังไหลไปมาระหว่างโพรงสมองได้

ภาวะอุดตันของทางเดินของน้ำในโพรงสมอง

ภาวะนี้เรียกอีกอย่างว่าการอุดตันระหว่างโพรงสมองกับช่องใต้เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ทั้งนี้ ภาวะอุดตันของทางเดินของน้ำในโพรงสมองนี้เกิดขึ้นเมื่อเกิดการอุดตันระหว่างโพรงในสมอง

ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ

หัวโตประเภทนี้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บ การติดเชื้อ การผ่าตัดหรือการตกเลือด อย่างไรก็ตาม ในหลายกรณี แพทย์ไม่ทราบว่าสาเหตุที่แท้จริงของภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกตินี้คืออะไร

หัวโตชนิดเนื้อเยื่อสมองลดน้อยลง

หัวโตประเภทนี้เกิดขึ้นหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บที่สมองหรือโรคความเสื่อม เมื่อเนื้อเยื่อสมองหดตัว โพรงของสมองจะมีขนาดใหญ่ขึ้น

อาการของหัวโต

อาการของหัวโตที่มีมาแต่กำเนิดได้แก่:

  • หายใจลำบาก
  • กล้ามเนื้อ แขนและขาแข็งเกร็งและอาจหดตัว
  • พัฒนาการบางช่วงอาจล่าช้า เช่น การลุก นั่งหรือคลาน
  • กระหม่อมซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ด้านบนของศีรษะตึงและนูนออกมาด้านนอก
  • หงุดหงิด ง่วงนอนหรือทั้งสองอย่าง
  • มักไม่ขยับคอหรือศีรษะ
  • ป้อนอาหารไม่ได้
  • ขนาดของศีรษะดูใหญ่กว่าที่ควรจะเป็น
  • หนังศีรษะบางและเป็นมันเงา และอาจมีเส้นเลือดที่มองเห็นได้บนหนังศีรษะ
  • รูม่านตาอาจอยู่ใกล้กับเปลือกตาด้านล่าง
  • เด็กอาจร้องเสียงแหลมสูง
  • อาจมีอาการชัก
  • มีอาเจียน
Hydrocephalus

อาการของหัวโตที่เกิดขึ้นหลังคลอด ได้แก่ :

  • มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แต่อาจเกิดขึ้นไม่บ่อย

  • รู้สึกมึนงงหรือสับสน หรือเกิดขึ้นทั้งสองอย่าง

  • รู้สึกง่วงหงาวหาวนอนตลอดเวลา

  • มีอาการปวดศีรษะ

  • รู้สึกความหงุดหงิดง่าย ซึ่งอาการอาจแย่ลง

  • รู้สึกไม่อยากอาหาร

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • มีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ

  • มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา เช่น มองเห็นไม่ชัดหรือมองเห็นภาพซ้อน

  • มีอาการชัก

  • ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

  • เดินลำบาก โดยเฉพาะในผู้ใหญ่

ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ อาการและอาการแสดงอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีจึงจะสังเกตุเห็น:

  • ท่าทางและจังหวะการเดินเปลี่ยนแปลงไป: ผู้ป่วยหัวโตอาจรู้สึกราวกับว่าตัวเองกำลังขาแข็งเมื่อลองหัดเดินก้าวแรก ๆ ทำให้ดูเหมือนคนกำลังลากขาเวลาเดิน

  • มีปัญหาเรื่องกระบวนการคิดที่ช้าลง: ผู้ป่วยหัวโตอาจตอบคำถามช้ากว่าปกติ อาจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์ช้า ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของผู้ป่วยหัวโตแต่ละคนจะช้าลง

  • ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้: ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้มักเกิดขึ้นหลังจากลักษณะการเดินเปลี่ยนแปลงไป

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยต่อไปนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหัวโต:

  • การคลอดก่อนกำหนด: ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเลือดออกในโพรงสมองหรือมีเลือดออกภายในโพรงสมองซึ่งอาจส่งผลให้เกิดหัวโต

  • ปัญหาที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์: การติดเชื้อในมดลูกระหว่างตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหัวโตในทารกในครรภ์ที่กำลังเติบโต

  • ปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในครรภ์: ตัวอย่างได้แก่การปิดของกระดูกสันหลังที่ไม่สมบูรณ์

ภาวะอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ :

  • แผลและเนื้องอกในไขสันหลังหรือสมอง

  • การติดเชื้อของระบบประสาท

  • เลือดออกในสมอง

  • บาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง

หัวโตเกิดขึ้นเมื่อมีของเหลวสะสมในสมองมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำไขสันหลังส่วนเกินที่สะสมในโพรงสมอง

สาเหตุหัวโต

หัวโตอาจเกิดได้จากสาเหตุกว่า 100 สาเหตุ โดยสาเหตุหลัก ๆ ได้แก่:

  • มีการผลิตน้ำไขสันหลังมากเกินไป

  • หนึ่งในโพรงสมองเกิดการอุดตันหรือแคบลง จึงทำให้เกิดการอุกตันหรือจำกัดการไหลเวียนของน้ำไขสันหลังที่คั่งในสมอง

  • น้ำไขสันหลังไม่สามารถกรองเข้าสู่กระแสเลือดได้

สาเหตุของหัวโตที่มีมาแต่กำเนิด

ทารกที่มีภาวะหัวโตเกิดมาพร้อมกับการอุดตันในท่อระบายน้ำในสมองซึ่งเป็นทางเดินยาวในสมองส่วนกลางที่เชื่อมต่อกับโพรงขนาดใหญ่สองช่อง ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด

ข่ายประสาทคอรอยด์สร้างน้ำไขสันหลังมากเกินไป:

ภาวะและโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับทารกที่กำลังเติบโตอาจทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาสมอง ตัวอย่างเช่น หัวโตพบได้บ่อยในเด็กที่มีอาการกระดูกสันหลังคดรุนแรง (เกิดการบกพร่องในไขสันหลัง)

การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาสมองของทารก เช่น :

สาเหตุของการเกิดหัวโตหลังคลอด

ภาวะนี้เกิดขึ้นหลังคลอดและมักเกิดจากการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วยที่ส่งผลให้เกิดการอุดตันระหว่างโพรงในสมอง โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้:

  • เลือดออกในสมอง

  • แผลในสมอง นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น เกิดการบาดเจ็บ การติดเชื้อ การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิดหรือปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน

  • เนื้องอกในสมอง โดยเฉพาะที่ไม่รุนแรง (ไม่เป็นมะเร็ง) หรือแบบรุนแรง (มะเร็ง) ในสมอง

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งเกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองหรือไขสันหลัง

  • โรคหลอดเลือดสมองซึ่งเป็นภาวะที่ก้อนเลือดหรือหลอดเลือดแดงแตกหรือเส้นเลือดขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังพื้นที่ของสมอง

สาเหตุของภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ

โดยเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุอย่างน้อย 50 ปี โดยส่วนใหญ่แพทย์ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร บางครั้ง อาจเกิดขึ้นหลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อหรือการบาดเจ็บที่สมอง ทั้งนี้ อาจสามารถอธิบายได้ 2 แบบคือ:

  • ไม่มีการดูดซึมของน้ำไขสันหลังเข้าสู่กระแสเลือดอย่างที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้ สมองจึงเริ่มผลิตน้ำไขสันหลังใหม่น้อยลง ส่งผลให้ความกดดันเพิ่มขึ้นทีละน้อยเป็นเวลานาน แรงดันที่เพิ่มขึ้นทีละน้อยอาจทำให้สมองเสียหายได้

  • ภาวะที่มีมาก่อนหน้า เช่น โรคหัวใจ ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงหรือโรคเบาหวานส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดตามปกติซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื่อสมองอ่อนตัวลง ซึ่งเนื้อสมองที่นิ่มลงส่งผลให้ความดันเพิ่มขึ้น

การวินิจฉัยโรคหัวโต

การวินิจฉัยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ:

การวัดขนาดศีรษะของทารกเป็นประจำอาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติได้

การวินิจฉัยหัวโตแต่กำเนิด:

  • การทำอัลตร้าซาวด์ก่อนคลอดเป็นประจำอาจตรวจพบหัวโตในระหว่างตั้งครรภ์ในทารกในครรภ์ที่กำลังเติบโตได้

  • หลังคลอด ควรมีการวัดศีรษะของทารกอย่างสม่ำเสมอ ความผิดปกติของขนาดศีรษะอาจนำไปสู่การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

หากการทำอัลตร้าซาวด์แล้วพบความผิดปกติ แพทย์จะสั่งให้มีการทดสอบเพิ่มเติม เช่น เทคนิคการถ่ายภาพทางการแพทย์ด้วยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (MRI) หรือการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (CT) ซึ่งจะให้ภาพที่ละเอียดของสมองมากขึ้น

การวินิจฉัยหัวโตที่เกิดขึ้นหลังคลอด:

หากเด็กหรือผู้ใหญ่มีอาการและอาการแสดงของหัวโตแพทย์จะ:

  • ตรวจสอบประวัติโรคของผู้ป่วย

  • ทำการตรวจร่างกายและระบบประสาท

  • สั่งให้ทำการตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่าย เช่น การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)

การวินิจฉัยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ:

โดยการวินิจฉัยหัวโตประเภทนี้มีความยุ่งยากมากกว่าเนื่องจากอาการมีความละเอียดอ่อนมากกว่าและไม่เกิดขึ้นให้เห็นได้ทันที

การรักษาหัวโต

การรักษาหัวโตที่มีมาแต่กำเนิด หัวโตหลังคลอดและภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป

การรักษาหัวโตที่มีมาแต่กำเนิดและหัวโตหลังคลอด

หัวโตทั้ง 2 ประเภทต้องได้รับการรักษาแบบเร่งด่วนเพื่อลดความดันในสมอง มิฉะนั้นจะเกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อก้านสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน เช่น การหายใจและการเต้นของหัวใจ

ศัลยกรรมผ่าตัดทางหรือหลอดที่สร้างขึ้นใหม่คือการผ่าตัดใส่ท่อระบายสารคัดหลั่ง แพทย์จะใส่สายสวน (ท่อบาง ๆ ที่มีวาล์ว) เข้าไปในสมองเพื่อระบายของเหลวส่วนเกินออกไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ช่องท้อง ช่องอก หรือห้องหัวใจห้องใดห้องหนึ่ง โดยปกติแล้ว การรักษาด้วยวิธีนี้ก็เพียงพอและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น

ผู้ป่วยที่มีหัวโตมักจะต้องวิฏีการรักษาด้วยวิธีการใส่สายสวนนี้ไปตลอดชีวิต หากมีการใส่สายสวนในเด็ก อาจต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติมเพื่อสอดท่อที่ยาวขึ้นเมื่อโตขึ้น

การระบายน้ำไขสันหลังจากห้องสมองออกมาสู่ภายนอก ร่างกาย โดยผ่านสายที่ใส่ผ่านรูกะโหลกศีรษะด้านบนไปด้านในของสมองบริเวณที่เรียกห้องสมอง ด้วยวิธีนี้ ศัลยแพทย์จะทำการเจาะรูที่ด้านล่างของโพรงเพื่อให้ของเหลวส่วนเกินไหลไปที่ฐานของสมอง การดูดซึมปกติเกิดขึ้นที่ฐานของสมอง บางครั้ง แพทย์อาจใช้หัตถการนี้เมื่อเกิดการอุดตันของการไหลของของเหลวระหว่างโพรงสมอง

การรักษาภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ

แพทย์อาจรักษาภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติด้วยการศัลยกรรมผ่าตัดทางหรือหลอดที่สร้างขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม ศัลยกรรมผ่าตัดทางหรือหลอดที่สร้างขึ้นใหม่นี้อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางราย โดยอาจมีขั้นตอนอื่น ๆ เพื่อทดสอบความเหมาะสม:

  • การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง: ด้วยวิธีนี้ แพทย์จะเอาน้ำไขสันหลังบางส่วนออกจากฐานกระดูกสันหลัง ซึ่งหากการเจาะตรวจน้ำไขสันหลังช่วยทำให้ความสามารถในการเดินหรือความสามารถทางจิตใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้น การศัลยกรรมผ่าตัดทางหรือหลอดที่สร้างขึ้นใหม่ก็อาจจะเหมาะสม

  • การตรวจการเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง: แพทย์จะสอดเข็มผ่านผิวหนังของหลังส่วนล่างเข้าไปในกระดูกสันหลัง โดยจะมีการวัดความดันน้ำไขสันหลังเมื่อของเหลวถูกฉีดเข้าไปในกระดูกสันหลัง ทั้งนี้ ผู้ป่วยมักจะได้รับประโยชน์จากการศัลยกรรมผ่าตัดทางหรือหลอดที่สร้างขึ้นใหม่หากความดันน้ำไขสันหลังเกินจำกัดที่กำหนด

ภาวะแทรกซ้อนของหัวโต

ความรุนแรงของหัวโตขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงเวลาที่เกิดหัวโตและอาการเป็นอย่างไรบ้าง หากหัวโตนี้รุนแรงมาก เมื่อทารกคลอดออกมาก็มีแนวโน้มที่สมองจะถูกทำลายและเกิดร่างกายพิการ ในกรณีที่ไม่ร้ายแรงและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที แนวโน้มของหัวโตจะดีขึ้นมาก

ทารกที่มีหัวโตที่มีมาแต่กำเนิดอาจเกิดมองเสียหายถาวร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้ เช่น :

  • มีสมาธิต่ำ

  • เป็นโรคออทิสติก

  • มีปัญหาการเรียนรู้

  • มีโรคทางกายภาพอื่น ๆ

  • มีปัญหาเกี่ยวกับหน่วยความจำ

  • มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด

  • มีปัญหาในการมองเห็น

การป้องกันหัวโต

คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องได้รับการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะฉีดวัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหัวโตในทารกได้

  • การตั้งครรภ์: การดูแลครรภ์ก่อนคลอดช่วงฝากครรภ์เป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงจากการมีทารกคลอดก่อนกำหนดได้มาก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดหัวโต
  • โรคติดเชื้อ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนและเข้าร่วมการตรวจคัดกรองตามที่แนะนำทุกอย่าง
  • วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ: ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบเคยเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในการเกิดหัวโต แนะนำให้ คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนเข้ารับการฉีดวัคซีน ทั้งนี้ ให้ปรึกษาแพทย์ด้วย
  • ป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่คุณขับรถหรือโดยสารรถ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจ ลูก ๆ คาดเข็มขัดนิรภัยก่อนขับรถ
  • ไม่ขับรถหากดื่มแอลกอฮอล์
  • ควรสวมหมวกกันน็อคหรืออุปกรณ์ป้องกันศีรษะเมื่อ:
    • ตีเบสบอล/ซอฟต์บอลหรือคริกเก็ต
    • เล่นกีฬาประเภทที่ต้องมีการกระแทก
    • ขี่ม้า ขับมอเตอร์ไซค์ ขี่้จักรยาน เล่นสโนว์โมบิล ขับสกู๊ตเตอร์หรือยานพาหนะที่วิ่งบนทุกพื้นผิว (ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร)
    • เล่นสโนว์บอร์ด สกี สเก็ตหรือสเก็ตบอร์ด

พื้นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ:

    • ควรติดตั้งราวจับไว้ข้างอ่างอาบน้ำ ฝักบัวและ/หรือห้องสุขา
    • ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายส่วนล่างแข็งแรงและสมดุลเพียงพอ (ลดความเสี่ยงในการหกล้ม)
    • ต้องมั่นใจว่า ในบ้านมีไฟสว่างเพียงพอ
    • ใช้เสื่อกันลื่นวางบนพื้นอ่างอาบน้ำและฝักบัว
    • ห้ามใช้พรมและวัตถุอื่นใดที่อาจทำให้ลื่นหกล้มได้ง่าย
    • บันไดควรมีราวจับทั้งสองด้าน

พื้นที่นั่งเล่นสำหรับเด็ก:

         ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ ไม่ให้เด็กปีนหน้าต่าง

         ติดตั้งประตูนิรภัยไว้ด้านล่างและด้านบนของบันไดหากเด็กยังเล็ก

พื้นที่เล่นสำหรับเด็ก:

         พื้นผิวสนามเด็กเล่นของเด็กควรทำด้วยวัสดุพื้นไม้เนื้อแข็ง ทรายหรือวัสดุดูด      ซับแรงกระแทกอื่น ๆ

อาวุธปืน:

         ควรเก็บอาวุธปืนไว้ในตู้เซฟหรือตู้ที่ล็อกไว้ ไม่ควรเก็บลูกปืนไว้ในบริเวณเดียวกัน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *