ปวดกล้ามเนื้อ (Muscle Pain) : อาการ สาเหตุและการรักษา

ปวดกล้ามเนื้อ (Muscle Pain) : อาการ สาเหตุและการรักษา

22.12
9251
0

อาการกล้ามเนื้ออักเสบสามารถเกิดขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ในหลายกรณีอาการเจ็บหรือปวดเมื่อยไม่ได้ทำให้เกิดความน่ากังวล และสามารถรักษาด้วยยาแก้ปวดกล้ามเนื้อได้ อย่างไรก็ตามบางกรณีอาการปวดกล้ามเนื้ออาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากโรคบางอย่าง

อาการปวดกล้ามเนื้อภาษาอังกฤษเรียกว่า Muscle Pain หมายถึงอาการเจ็บปวดที่บริเวณใดก็ตามของร่างกาย โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อมีระดับควรเจ็บปวดตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงรุนเเรง

สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้แก่

  • การออกกำลังกายมากเกินไป
  • อาการบาดเจ็บที่บริเวณต่างๆของร่างกาย
  • การติดเชื้อจากไวรัส

Muscle Pain

สาเหตุของอาการปวดกล้ามเนื้อคืออะไร

 สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้แก่

ความเครียด

ความเครียดทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อรวมถึงอาการปวดศีรษะและตัวสั่น

ความเครียดทำให้ร่างกายต้องต่อสู้กับโรคต่างๆอย่างหนัก ดังนั้นผู้ที่ไม่สบายหรือรู้สึกเครียดมักมีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อเนื่องจากร่างกายพยายามต่อสู้กับการอักเสบติดเชื้อ

อาการของความเครียดได้แก่

ผู้ที่พยายามต่อสู้กับความเครียด ควรพยายามหาวิธีผ่อนคลายความเครียดให้กับตัวเองและหลีกเลี่ยงสถานะการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด

ภาวะขาดสารอาหาร

คนที่มีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้ออาจเป็นเพราะการทานอาหารที่ไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วนหรือเหมาะสม

วิตามิน D มีบทบาทสำคัญทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ตามปกติ เนื่องจากวิตามิน D ช่วยทำให้กล้ามเนื้อสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดแคลนแคลเซียมแล้วจึงส่งผลทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ

ภาวะขาดแคลเซียมในเลือดหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Hypocalcemia หมายถึงภาวะที่มีแคลเซียมในเลือดต่ำซึ่งส่งผลต่อกระดูกและอวัยวะต่างๆรวมถึงกล้ามเนื้อด้วยเช่นกัน

ภาวะขาดน้ำ

ผู้ที่มีภาวะขาดน้ำอาจเคยมีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อได้เช่นกัน

การดื่มน้ำที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ เนื่องจากคนเราสามารถหมดสติได้ ถ้าหากไม่ได้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ภาวะขาดน้ำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติเช่นหายใจลำบาก และอาหารไม่ย่อย

ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องใส่ใจในการดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยปกติแนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน ถ้าหากอากาศร้อนหรือหลังจากออกกำลังกายที่ทำให้มีเหงื่อออกมาก ควรดื่มน้ำมากกว่าปกติ 

กล้ามเนื้อเคล็ดและตึง

อาการกล้ามเนื้อตึงหรือเคล็ดขัดยอกรวมถึงอาการบาดเจ็บอื่นๆทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้

ซึ่งคนเรามักมีความรู้สึกเจ็บปวดกล้ามเนื้อหรือมีอาการกล้ามเนื้อเคล็ดที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย นอกจากนี้การยืดกล้ามเนื้อมากเกินไปยังสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปกล้ามเนื้อได้เช่นกัน

บางครั้งอาการกล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอกหรือกล้ามเนื้อตึงไม่จำเป็นต้องทำการรักษา โดยผู้ที่มีอาการดังกล่าวสามารถพักผ่อนและทานยาคลายกล้ามเนื้อที่สามารถหายซื้อได้เองจากร้านขายยาหรือใช้แผ่นประคบร้อนวางบนบริเวณที่เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการกล้ามเนื้อตึงได้

อย่างไรก็ตามสำหรับการบาดเจ็บที่ทำให้เจ็บกล้ามเนื้อหรือไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อได้ตามปกติและไม่มีอาการดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ที่มีอาการดังกล่าวควรไปพบเเพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

ขาดการนอนหลับพักผ่อน

การขาดการนอนหลับที่เพียงพอส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายได้

การนอนหลับทำให้ร่างกายได้พักผ่อนและเป็นการฟื้นฟูการทำงานให้กับร่างกาย ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ อาจมีสาเหตุเกิดจากการนอนหลับไม่เพียงพอ

นอกจากนี้การขาดการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพยังทำให้รู้สึกขี้เกียจและเชื่องช้า ส่งผลทำให้ความสามารถในการทำงานและการใช้ความคิดมีประสิทธิภาพลดลง

การออกกำลังกายมากเกินไป

การออกกำลังกายมากเกินไปส่งผลทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อปวดและตึงได้

ปัจจัยดังต่อไปนี้สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้อตึงได้เมื่อออกกำลังกาย 

  • การออกกำลังกายแบบผิดปกติ
  • การพยายามออกกำลังกายแบบใหม่
  • การออกกำลังกายที่ใช้แรงมากเป็นเวลานาน
  • การอบอุ่นร่างกายหรือการยืดกล้ามเนื้อที่ไม่เหมาะสม

การติดเชื้อและโรคทางพันธุกรรม

โรคต่างๆเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ ซึ่งโรคส่วนใหญ่ที่ทำให้เจ็บปวดกล้ามเนื้อได้แก่ 

  • ภาวะโลหิตจาง
  • ข้ออักเสบ
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนเเรงเรื้อรัง
  • โรคปวดขาหรือแขนเมื่อออกแรง
  • โรคกล้ามเนื้อและผิวหนังอักเสบ
  • โรคไข้หวัด
  • โรคปวดตามกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย
  • โรคภูมิแพ้ลูปัส
  • โรคลายม์
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS)
  • โรคปอดบวม
  • โรคโมโนนิวคลีโอซิสหรือมักเรียกว่าโรโมโน 

ลักษณะของอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ

ไข้หวัดและอาการวิงเวียนศีรษะเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อได้

ผู้ที่มีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อบางคนอาจมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อรวมกับอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการกล้ามเนื้อตึงและกล้ามเนื้ออ่อนล้า
  • มีไข้
  • มีผื่น
  • มีบาดแผล
  • วิงเวียนศีรษะ
  • หายใจลำบาก
  • มีสัญญาณเบื้องต้นของการติดเชื้อเช่นผิวหนังบวมแดง

สำหรับอาการดังกล่าวอย่างเช่นมีไข้สูงหรือหายใจลำบากจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทีมแพทย์

ถ้าหากอาการปวดกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการเคล็ดขัดยอกหรือมีแรงตึงเครียดเกิดขึ้น โดยปกติผู้ป่วยมักรู้สึกระคายเคืองที่บริเวณนั้นๆ

แต่ถ้าหากเมื่อเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อทั้งตัว มีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อและการใช้ยาบางประเภทรวมถึงโรคบางชนิด

วิธีรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อที่บ้าน

โดยปกติเราสามารถรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อได้เองที่บ้าน ซึ่งเป็นอาการเจ็บกล้ามเนื้อทั่วไปที่เกิดจากการบาดเจ็บหลังจากออกกำลังกายหรือการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆมากเกินไป

สำหรับวิธีการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อเองที่บ้านได้แก่วิธี R.I.C.E ซึ่งประกอบวิธีดังต่อไปนี้

  • พัก (Rest) : หมายถึงการพักหรือหยุดใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่เกิดอาการเจ็บปวดหรือบาดเจ็บ
  • น้ำแข็ง (Ice) : สามารถใช้น้ำแข็งหรือถุงน้ำแข็งประคบเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อรวมถึงอาการบวม โดยสามารถใช้น้ำแข็งประคบบริเวณปวดกล้ามเนื้อเป็นเวลา 15-20 นาที สามครั้งต่อวัน
  • การประคบ (Compress) : ใช้ถุงประคบบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการบวม
  • ยกขึ้นสูง (Elevation) : ถ้าเป็นไปได้ควรยกเท้าหรือบริเวณที่เกิดการอักเสบให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าส่วนอื่นๆของร่างกาย  

วิธีการรักษาตนเองที่บ้านอื่นๆ ได้แก่

  • การทานยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การยืดกล้ามเนื้อที่เกิดอาการบาดเจ็บอย่างระมัดระวัง
  • การทำกิจกรรมหรือฝึกฝนร่างกายที่ช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลายและลดความเครียดเช่นการทำโยคะและการนั่งสมาธิ

บทสรุป

เราสามารถป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากแรงตึงเครียดในกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายมากเกินไปด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ควรยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อทำให้ร่างกายแข็งเเรง
  • ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายและยืดคลายกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย
  • ควรลุกยืนและยืดกล้ามเนื้อ หากนั่งเป็นเวลานาน

บางครั้งสาเหตุส่วนมากที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเกิดจากเนื้องอก ดังนั้นหากผู้ใดมีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังควรไปพบเเพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *