คลื่นไส้อาเจียน (Nausea and Vomit) : อาการ สาเหตุ การรักษา

คลื่นไส้อาเจียน (Nausea and Vomit) : อาการ สาเหตุ การรักษา

31.10
2289
0

อาการคลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomit) เป็นความรู้สึกไม่สบายทางกระเพาะอาหาร ซึ่งมักจะเกิดขึ้นก่อนการอาเจียน

คลื่นไส้อาเจียน

สาเหตุของการคลื่นไส้และอาเจียน

สาเหตุของอาการคลื่นไส้และอาเจียนมีได้หลายอย่าง ดังนี้ :

การตั้งครรภ์

อาการคลื่นไส้และอาเจียนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ระหว่างการตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยแปลงของฮอร์โมน โดยคนส่วนมากจะเรียกว่า อาการแพ้ท้อง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน

โดยที่จะเริ่มมีอาการในสัปดาห์ที่ 9 ของการตั้งครรภ์ และหายไปในสัปดาห์ที่ 14 แต่บางคนก็อาจมีอาการตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์

3% ของคนท้องอาจมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

เคล็ดลับในการลดอาการแพ้ท้อง

ระบบประสาทส่วนกลาง

โรคที่เกิดขึ้นกับระบบประสาทส่วนกลาง อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้

ตัวอย่างเช่น:

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ยังมีอีกหลายสาเหตุที่เกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้

ปัญหาเกี่ยวกับหู

ความผิดปกติของหูชั้นใน ก็เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว และนำไปสู่การวิงเวียน คลื่นไส้และอาเจียนได้

อาการของความผิดปกติของหูชั้นใน รวมไปถึง :

  • อาการเมารถ
  • หูอักเสบ: เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในหูชั้นใน
  • ตะกอนหินปูในหูชั้นในเคลื่อนที่: เป็นการเคลื่อนที่ที่เล็กน้อย เข่นการขยับศรีษะ อาจกระตุนให้เกิดอาการวิงเวียนได้
  • โรคเมเนียร์: เป็นอาการระยะยาวที่จะส่งผลต่อการทรงตัว ทำให้เกิดอาการวิงเวียน หูอื้และสุญเสียการได้ยิน

ความผิดปกติในช่องท้องและเชิงกราน

ความผิดปกตินี้ จะส่งผลต่อระบบทางเกินหาร ระบบสืบพันธุ์ ตับ และส่วนอื่นๆของร่างกาย ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้

ตัวอย่างเช่น:

อาการวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าและความเครียด

ความผิดปกติทางจิตใจ สามารถส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้ เช่น:

  • อาการวิตกกังวล หรือความผิดปกติต่างๆที่เกี่ยวข้อง
  • ภาวะซึมเศร้า
  • โรคเบื่ออาหาร
  • โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา

นอกเหนือจากอาการคลื่นไส้แล้ว อาการวิตกกังวลอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ท้องเสียและปัสสาวะบ่อย

มะเร็ง

มะเร็งบางชนิด สามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้ รวมไปถึง:

  • เนื้องอกในสมอง
  • มะเร็งที่ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้
  • มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
  • เนื้องอกบริเวณตับอ่อน
  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งรังไข่

การรักษาโรคมะเร็ง

อาการคลื่นไส้และอาเจียน เป็นผลข้างเคียงปกติของการรักษาโรคมะเร็ง.

ยาสามารถช่วยจัดการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น เบื่ออาหาร ความเสียหายของหลอดอาหาร การขาดน้ำและสารอาหาร การเปิดแผลผ่าตัด เป็นต้น

โดยปกติแล้ว การรักษาโรคมะเร็งมักจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้:

เคมีบำบัด

ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ รวมไปถึงประเภทของมะเร็ง ปริมาณยา และการตอบสนองของแต่ละบุคคล

การรักษาด้วยรังสี

จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น เมื่อการรักษาเกี่ยวข้องกับสมอง ตับ หรือระบบทางเดินอาหาร และจะมีอาการเพิ่มขึ้ยตามปริมาณของยาที่ได้รับอีกด้วย

ผู้ป่วยอาจได้รับความเสี่ยงจากการทำเคมีบำบัดหรือการรักษาด้วยรังสีได้มากขึ้น ถ้าหาก : 

  • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรงบ่อย ในการรักษาก่อนหน้า
  • เป็นผู้หญิง
  • มีอายุต่ำกว่า 50 ปี
  • มีอาการท้องผูก
  • ใช้ยาบางชนิดเช่น opioids
  • มีความวิตกกังวล
  • มีอาการติดเชื้อ
  • เป็นโรคไต
  • ของเหลวในร่างกายไม่สมดุล

วิธีการรักษา

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดอาการ แต่ยาบางชนิดเช่น ยาต้านฮิสทามีน ก็สามารถรักษาอาการได้

สามารถหายาเพื่อบรรเทาอาการได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาที่แรงขึ้น

หลังจากใช้ยา ผู้ป่วยควรดูแลตัวเองและควร:

  • อ่านคำแนะนำบนฉลาก
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำและใช้ตามปริมาณ
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาชนิดใหม่
  • ปรึกษาแพทย์หากไม่สามารถใช้ยาในการรักษาได้

ยาต้านฮิสทามีน

ยาต้านฮิสืาทีนสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้ จากอาการเมารถ ไมเกรน หรือวิงเวียนศรีษะได้

เช่น ยา dimenhydrinate (Dramamine) และ ยา meclizine hydrochloride (Dramamine Less Drowsy).

ควรรับประทานยาก่อนออกเดินทาง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการวิงเวียน

ผลข้างเคียงของยา:

  • ง่วงนอน
  • ตาแห้ง
  • ปากแห้ง

ผู้ที่ใช้ยาระงับประสาท ยาคล้ายกล้ามเนื้อหรือยานอนหลับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

ภาพรวม

อาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นอาการทั่วไปของโรคต่างๆ และสามารถหายไปเองได้โดยไม่ต้องรับการรักษา แต่ก็มีทางที่สามารถป้องกันการเกิดอาการได้

ผู้ที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนต่อเนื่องอย่างรุนแรง มีความเสียงที่ร่างกายจะขาดน้ำ รวมไปถึงมีอาการอื่นๆรวมด้วย จึงควรไปพบแพทย์ทันที

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *