โรคไข้เหลือง (Yellow fever) เป็นภาวะเลือดออกที่ทำให้มีไข้สูง เลือดจะออกที่ผิวหนังและเซลล์ในตับและไตถูกทำลาย เมื่อเซลล์ถูกทำลายจะนำไปสู่โรคดีซ่านซึ่งเป็นภาวะที่ผิวหนังมีสีเหลือง
ไข้เหลืองเป็นโรคแบบเฉียบพลัน หมายความจะเกิดอาการอย่างกะทันหันและมีผลต่อร่างกายทั้งหมด ไวรัส Flavivirus คือต้นเหตุที่ทำให้เกิดไข้เหลือง โดยไวรัสจะมียุงสายพันธุ์ Aedes และ Haemogogus เป็นพาหะ
สาเหตุของไข้เหลือง
ไวรัส Flavivirus คือต้นเหตุของไข้เหลือง มียุงลายเป็นพาหะ นำเชื้อเข้ามนุษย์ด้วยการกัด โดยยุงที่มีเชื้อสามารถแพร่เชื้อโรคไปยังคนหรือลิงได้ตลอดอายุขัยของยุง
เชื่อกันว่าไวรัส Flavivirus เป็นไวรัสที่พบในลิงที่อาศัยอยู่ตามยอดไม้ของป่าในทวีปแอฟริกาและอเมริกาอยู่แล้ว โดยมียุงเป็นพาหะ นำเชื้อไวรัสจากลิงมายังมนุษย์ ผู้ที่ติดเชื้อก็จะกลายเป็นพาหะทำให้เชื้อแพร่ไปยังผู้อื่นได้
การเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีเชื้อไวรัสไข้เหลืองจึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ ซึ่งก็คือพื้นที่บางส่วนของแอฟริกา โดยเฉพาะแอฟริกาตอนใต้ที่มีทะเลทรายซาฮารา เชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้ และบางส่วนของทะเลแคริบเบียน
นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังบริเวณดังกล่าว ควรฉีดวัคซีนไข้เหลืองก่อนเดินทาง 10 ถึง 14 วันเพื่อป้องกันการติดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวินิจฉัยโรคไข้เหลือง
การวินิจฉัยจะต้องได้รับการยืนยันเมื่อแพทย์ตรวจพบสัญญาณ และอาการ ก่อนยืนยันด้วยผลตรวจเลือด เพื่อวินิจฉัยแยกอาหารของโรคติดต่ออื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายคลึงกัน ซึ่งได้แก่:
-
การถูกพิษ
การตรวจเลือดจะทำให้ทราบถึงไวรัส หรือแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย การตรวจเลือดยังรวมถึงการรับปริมาณเม็ดเลือดขาวที่เป็นสัญญาณหนึ่งของการติดเชื้อ การตรวจเลือดเพื่อทดสอบภูมิคุ้มกันจะเชื่อมโยงกับเอนไซม์ (ELISA) และปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (PCR) ผลการทดสอบอาจใช้เวลาหลายวัน
อาการของไข้เหลือง
คนส่วนมากที่เป็นไข้เหลืองจะไม่แสดงอาการ หรืออาการไม่รุนแรงมาก ไข้เหลืองมีระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 3 ถึง 6 วัน จึงมักใช้เวลา 3 ถึง 6 วันหลังการติดเชื้อจึงจะมีอาการ
โรคนี้ไม่สามารถแพร่ระบาดจากคนสู่คน ต้องมียุงเป็นพาหะนำโรค
อาการหลักของไข้เหลืองคืออุณหภูมิสูง ชีพจรเต้นช้า พบ albuminuria ในปัสสาวะ ดีซ่าน เลือดคั่งที่ใบหน้า ตกเลือด หรือมีเลือดออก
อาการสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ:
ในระยะเริ่มต้น หรือระยะเฉียบพลัน อาจมีอาการ:
-
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณหลังและหัวเข่า
-
มีไข้สูง
-
ตัวสั่นหรือหนาวสั่น
อาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 7 ถึง 10 วัน
อาการมักดีขึ้นภายใน 2-3 วัน แต่ผู้ป่วยประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์อาจเข้าสู่ระยะที่ 2 หรือระยะที่เป็นพิษ อาการจะรุนแรงขึ้นและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ซึ่งอาการระยะที่ 2 รวมถึง:
-
เกิดไข้ซ้ำ
-
อาเจียน บางครั้งมีเลือดปน
-
ความเหนื่อยล้า ความเฉื่อยชา ความง่วง
-
ดีซ่านทำให้ผิวหนังและตาขาวมีสีเหลือง
-
ไตล้มเหลว
-
ตับวาย
-
ตกเลือด
-
เพ้อ ชัก และไม่รู้สึกตัวในบางครั้ง
-
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจเต้นผิดปกติ
-
เลือดออกจากจมูก ปาก และตา
ประมาณ 20 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีอาการระยะเป็นพิษจะเสียชีวิตภายใน 2 สัปดาห์
ภายใน 7 ถึง 10 วัน ไข้เหลืองในระยะเป็นพิษจะเป็นอันตรายถึงชีวิตของผู้ป่วยประมาณ 50% และกรณีที่สามารถฟื้นตัวได้ ก็มักเกิดความเสียหายที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง และมีปัญหาด้านภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต
การรักษาไข้เหลือง
ไม่มียาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพในการรักษาไข้เหลืองโดยตรง การรักษาโดยทั่วไปจึงบรรเทาอาการต่าง ๆ รวมถึงการให้ของเหลว ออกซิเจน การตรวจความดันโลหิตเพื่อตรวจสอบปริมาณเลือดที่เสียไป การล้างไตหากไตวาย และการรักษาการติดเชื้อระยะที่ 2
ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการถ่ายพลาสมาทดแทน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยระบบแข็งตัวของเลือด
ผู้ป่วยควรอยู่ห่างจากยุง หากยุงกัดผู้ป่วยก็จะกลายเป็นพาหะนำโรคไปยังผู้อื่นได้
ไม่ควรใช้แอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในการรักษาเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะตกเลือด
การป้องกันไข้เหลือง
ในอดีตไข้เหลืองเคยทำให้เกิดการสูญเสียประชากรในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์จึงได้พัฒนาวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันไข้เหลือง
การฉีดวัคซีน
ผู้ที่จะเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีเชื้อไข้เหลืองควรหาฉีดวัคซีนก่อนเดินทางอย่างน้อย 10 ถึง 14 วัน บางประเทศอาจตรวจใบรับรองการฉีดวัคซีนก่อนอนุญาตให้เข้าประเทศ
การฉีดวัคซีน 1 ครั้ง ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ 10 ปี และบางกรณีอาจมีผลไปตลอดชีวิต
อาจมีผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน ได้แก่:
-
ปวดหัว
-
ไข้ต่ำ
-
เจ็บกล้ามเนื้อ
-
เหนื่อยหอบ
-
เจ็บปวดบริเวณที่ฉีดยา
กรณีที่เกิดได้น้อย คือทารกและผู้สูงอายุมีปฏิกิริยาที่รุนแรงจนเป็นโรคไข้สมองอักเสบ เป็นวัคซีนที่มีึวามปลอดภัยสำหรับผู้รับวัคซีนที่มีอายุระหว่าง 9 เดือนถึง 60 ปี
กลุ่มคนต่อไปนี้ไม่ควรได้รับการฉีดวัคซีน:
-
เด็กอายุต่ำกว่า 9 เดือน เว้นแต่จะมีความเสี่ยงของไข้เหลืองสูง
-
สตรีมีครรภ์ เว้นแต่จะมีความเสี่ยงของไข้เหลืองสูง
-
มารดาที่ให้นมบุตร
-
คนที่แพ้ไข่
-
ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดและการฉายรังสี เว้นแต่จะมีความเสี่ยงของไข้เหลืองสูง
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณษการฉีดวัคซีน
การป้องกันยุง
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำวิธีลดการสัมผัสยุง ดังนี้:
-
หากเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเช้ามืด พลบค่ำและหัวค่ำซึ่งเป็นช่วงที่ยุงชุกชุมมากที่สุด
-
ปกปิดผิวหนังให้มากที่สุด โดยสวมเสื้อแขนยาว และกางเกงขายาวในบริเวณที่มียุง
-
อยู่ในอาคาร หรือสถานที่ที่ควบคุมอากาศเข้าออก และมีมุ้งลวด
-
ใช้ยากันยุง กรณีตั้งแคมป์เลือดอุปกรณ์ที่มีตาข่ายคลุม
-
กรณีเด็กเล็กควรคลุมรถเข็นเด็กด้วยมุ้งกันยุงเมื่ออยู่กลางแจ้ง
สรุปภาพรวมไข้เหลือง
ไข้เหลืองติดต่อโดยยุง อาจทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูง อวัยวะถูกทำลายและมีอันตรายถึงชีวิตได้ ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลแบบประคับประคอง กรณีเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงควรตรวจสอบว่าจำเป็นต้องได้รับวัคซีนก่อนเดินทางหรือไม่ บางประเทศจะไม่อนุญาตให้ผู้เดินทางเข้าโดยไม่มีใบรับรองการฉีดวัคซีน
คนส่วนมากที่ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ แต่อาจทำให้รู้สึกอ่อนแรง และเหนื่อยล้าเป็นเวลาหลายเดือน กรณีที่มีอาการรุนแรง จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ระหว่าง 20 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yellow-fever/symptoms-causes/syc-20353045
-
https://www.webmd.com/a-to-z-guides/yellow-fever-symptoms-treatment
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก