หน้าบวม (Facial swelling) เป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ เช่น การบาดเจ็บ อาการแพ้ และการติดเชื้อ มีน้อยรายที่หน้าบวมเป็นอาการแสดงจากการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน
สาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการหน้าบวม
มีสาเหตุที่เป็นไปได้หลายอย่างที่ทำให้เกิดอาการหน้าบวม ได้แก่:
โรคแอคติโนมัยโคสิส (Actinomycosis)
โรคแอคติโนมัยโคสิส เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียระยะยาวที่พบได้น้อยและอาจรุนแรงจนทำให้เกิดอาการบวมและเกิดฝีภายในเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย โดยทั่วไปภาวะนี้จะส่งผลต่อปาก, จมูก, ลำคอ, กระเพาะอาหาร และลำไส้ของบุคคล
อาการอื่นๆของโรคแอคติโนมัยโคสิส ได้แก่:
-
มีไข้
-
ใบหน้าบวม
-
แผลที่ผิวหนัง
-
น้ำหนักลด
แพทย์มักจ่ายยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลินปริมาณสูงในการรักษาผู้ที่เป็นโรคแอคติโนมัยโคสิส มียาปฏิชีวนะอื่นๆให้ในกรณีแพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน การรักษาการติดเชื้ออาจใช้เวลานานหลายเดือน แต่ไม่ใช่โรคติดต่อ
ภูมิแพ้ขึ้นตา (Allergic conjunctivitis)
ภูมิแพ้ขึ้นตา เป็นตาอักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดเมื่อบุคคลไปสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ กระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ขึ้นที่ตา เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ เช่น:
-
ฝุ่น
-
สปอร์ของเชื้อรา
-
ขนสัตว์เลี้ยง
-
ละอองเกสร
ภาวะดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดตาแดง คัน น้ำตาไหล และแสบร้อนที่ดวงตา อีกทั้งผิวหนังรอบดวงตาอาจบวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตื่นนอน
คนทั่วไปสามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ขึ้นตาได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ส่วนการรักษาสามารถใช้การประคบเย็นบริเวณที่เกิดการอักเสบ หรือใช้ยา เช่น ยาแก้แพ้ และยาหยอดตาแก้อักเสบ หรือสเตียรอยด์ และไม่ควรขยี้ตาเพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
การแพ้รุนแรง (Anaphylaxis)
การแพ้รุนแรงเป็นการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ที่รุนแรง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และอาจถึงแก่ชีวิตได้ อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ และอาการจะแย่ลงเรื่อยๆ เช่น:
- หายใจลำบาก
- ท้องเสีย
- หน้าบวม
- ลมพิษ โดยมีลักษณะเป็นผื่นแดง คัน และมีตุ่มผื่น
- คัน
- หมดสติ
- คลื่นไส้ และอาเจียน
- หัวใจเต้นเร็ว
- ความดันโลหิตต่ำกระทันหัน
ควรรีบโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉิน หากพบผู้ที่มีอาการของการแพ้ที่รุนแรง หากบุคคลนั้นถือเครื่องฉีดอะดรีนาลีน (EpiPen) และไม่สามารถจัดการได้ด้วยตนเอง ให้ใช้ยาดังกล่าวตามที่บรรจุภัณฑ์สั่ง
ผู้ที่มีอาการแพ้แบบรุนแรงเป็นครั้งแรกมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้อีกในอนาคต จึงควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และพกอะดรีนาลีนแบบฉีดเองตลอดเวลา
แองจีโออีดีมา (Angioedema)
แองจีโออีดีมา เป็นการบวมที่เกิดในผิวหนังชั้นลึกและเป็นผลจากการแพ้สารก่อภูมิแพ้ เช่น อาหาร, ยา หรือสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ อาทิ แมลงกัด หรือต่อย อาการส่วนใหญ่จะบวมทั่วใบหน้า อาการอื่นๆของแองจีโออีดีมา ได้แก่ :
-
ลมพิษ
-
คัน
-
ผื่น
อาการแองจีโออีดีมาในระดับไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแค่หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ส่วนผู้ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรงอาจต้องใช้ยาอะดรีนาลีน ยาแก้แพ้ และยาอื่นๆ
การดูแลที่บ้านเพื่อบรรเทาอาการไม่สุขสบายได้แก่ การประคบเย็นและการสวมเสื้อผ้าหลวมๆ
จมูกหัก
การบาดเจ็บบนใบหน้าที่มีสาเหตุจากกระดูกภายในจมูกหัก การบาดเจ็บดังกล่าวทำให้ใบหน้าบวมและมีอาการอื่นๆ เช่น:
-
จมูกเบี้ยว
-
ช้ำ
-
เลือดกำเดาไหล
จมูกหักไม่จำเป็นต้องรักษาเสมอไป แต่หากเกิดการบาดเจ็บบนใบหน้าก็ควรไปพบแพทย์ การรักษาจมูกหักประกอบไปด้วยการลดปวดด้วยยา การเข้าเฝือก และการประคบเย็น บางรายอาจต้องรับการผ่าตัด
เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis)
เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังที่เป็นเหตุให้เกิดอาการ บวม, แดง และร้อน ทำให้เกิดการเจ็บปวด หากไม่ได้รับการรักษา เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบอาจถึงแก่ชีวิตได้
อาการของการติดเชื้อรุนแรง:
-
มีไข้
-
หนาวสั่น
-
เกิดริ้วรอบแดงจากผื่น
แพทย์มักสั่งยาปฏิชีวนะให้รับประทานเพื่อรักษาเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ซึ่งบุคคลอาจต้องรับประทานอย่างน้อย 5วัน การพักผ่อนและรับประทานยาลดปวดสามารถช่วยลดความไม่สุขสบายได้
กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s syndrome)
กลุ่มอาการคุชชิง เป็นความผิดปกติที่เกิดเมื่อร่างกายสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป คนที่เป็นกลุ่มอาการคุชชิงจะอ้วนฉุ หน้ากลม พวกเขาอาจมีผิวหนังฟกช้ำได้ง่ายและมีขนส่วนเกินหรือขนหนาขึ้นตามร่างกาย
การได้รับกลูโคคอร์ติคอยในระดับสูงเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของกลุ่มอาการคุชชิง
การมีเนื้องอกบางอย่างอาจเป็นเหตุให้ร่างกายผลิตคอร์ติซอลเกินจำเป็น แม้ว่าเป็นภาวะที่แสดงออกภายนอกร่างกายได้น้อย แต่เป็นปัญหาที่เป็นผลจากภายในร่างกาย
ตามที่สถาบันโรคเบาหวานและระบบทางเดินอาหารและโรคไตแห่งชาติ พบภาวะที่แสดงออกภายนอกมีผลกับผู้คนกว่า 40-70 คนจากทุกๆล้านคน
การรักษาขึ้นกับสาเหตุ แนวทางในการรักษา เช่น ยาลดคอร์ติซอล การผ่าตัด การฉายแสงบำบัดและเคมีบำบัด
การแพ้ยา
ปฏิกิริยาจากการแพ้ยาที่จำเพาะต่อยาอาจเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เกิดหน้าบวมทั้งหน้า การแพ้ยาอาจเป็นเหตุให้เกิด:
-
หายใจลำบาก
-
มีไข้
-
ลมพิษ
-
คัน ผื่นแดง
-
หัวใจเต้นเร็ว
-
หน้าบวมข้างเดียวหรือสองข้าง
เป็นสิ่งสำคัญที่ควรแจ้งให้แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรทราบ หากพวกเขารู้ว่าคุณแพ้ยาอะไร จะได้หลีกเลี่ยงการใช้ยานั้นๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสามารถแนะนำแนวทางเลือกอื่น
สาเหตุทั่วไปของการแพ้ยา:
-
ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลิน
-
ยากันชัก
-
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอย (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs :NSAIDs) เช่น แอสไพริน และไอบูโพรเฟน (ibuprofen)
-
ยาเคมีบำบัด
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่แพ้ยาในการสวมสร้อยข้อมือทางการแพทย์(หรือมีเอกสารข้อมูลทางการแพทย์ติดตัว)เพื่อแจ้งเตือนผู้อื่นเมื่ออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)
ไฮโปไทรอยด์ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์ช่วยให้ร่างกายควบคุมการใช้พลังงาน
อาการอ้วนฉุ หน้าบวม เป็นหนึ่งในอาการของไฮโปไทรอยด์ อาการอื่นได้แก่:
-
ผิวแห้ง
-
รู้สึกหนาว
-
คอเลสเตอรอลสูง
-
กล้ามเนื้ออ่อนแรง
-
ปวดข้อ หรือข้อติด
-
หัวใจเต้นช้า
-
น้ำหนักเกิน
ผู้ที่มีอาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย จากข้อมูลของ The American Thyroid Association พบว่าคนที่เป็นโรคไทรอยด์ร้อยละ 60 ไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะนี้
ไม่มีวิธีรักษาไฮโปไทรอยด์ แต่การใช้ยาและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยให้จัดการกับอาการได้
ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
ครรภ์เป็นพิษคือภาวะที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์และต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน สัญญาณเตือนได้แก่ ความดันโลหิตไม่คงที่และมีระดับโปรตีนในปัสสาวะสูง ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้แก่ความดันโลหิตสูงที่อันตราย, ไตและตับถูกทำลาย และชัก
อาการได้แก่:
-
ปวดท้อง
-
ปวดศีรษะอย่างต่อเนื่อง
-
น้ำหนักเพิ่มกระทันหัน
-
หน้าและมือบวม
-
การมองเห็นเปลี่ยนไป
แพทย์อาจแนะนำให้คลอดก่อนกำหนดเพื่อแก้ไขภาวะครรภ์เป็นพิษ อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับระยะของการตั้งครรภ์และความรุนแรงของภาวะ
หากอาการดำเนินเร็วกว่า 37สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ แพทย์อาจแนะนำการติดตามทางการแพทย์และให้ยาเพื่อลดความดันโลหิตและป้องกันการอาการชัก
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
ไซนัสอักเสบเป็นภาวะทั่วไปที่เกิดขึ้นเมื่อมีการอักเสบของทางจมูกและรูจมูก ภาวะดังกล่าวเป็นเหตุจากการแพ้ หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส
ไซนัสอักเสบเป็นเหตุให้เกิดอาการบวมและปวดบริเวณรอบจมูกและดวงตา อาการอื่นๆเช่น:
การดูแลตัวเองที่บ้านได้แก่ หากคัดจมูกก็ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประคบอุ่น และไอน้ำบำบัดเพื่อเพิ่มความชื่นให้กับทางเดินหายใจ การซื้อยารับประทานเอง เช่นการแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดศีรษะ
หากอาการไม่ดีข้ึนภายหลัง 1-2สัปดาห์ อาจติดเชื้อแบคทีเรียที่ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
การติดเชื้อที่ฟัน
หนองหรือการติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่ฟันหรือเหงือกเป็นเหตุให้เกิดการบวมโดยรอบแนวกราม การติดเชื้ออาจทำให้ปวดและปวดร้าวไปยังบริเวณใกล้เคียง
ทันตแพทย์มักจะสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ และจะเปิดรากฟันเอาเส้นประสาทในฟันที่ถูกทำลายแล้วส่งผลให้ฟันติดเชื้อออก เพื่อลดอาการไม่สุขสบายที่บ้าน การบ้วนปากด้วยน้ำเกลือและรับประทานยาแก้ปวดก็สามารถช่วยได้
กลุ่มอาการอุดตันของหลอดเลือดดำใหญ่ (Superior vena cava syndrome)
กลุ่มอาการอุดตันของหลอดเลือดดำใหญ่ เป็นภาวะที่สำคัญที่ทำให้เกิดอาการบวมและเกิดการเปลี่ยนสีบนใบหน้าและลำคอ
กลุ่มอาการอุดตันของหลอดเลือดดำใหญ่ เกิดกับหลอดเลือดดำใหญ่ที่ขนส่งเลือดจากศีรษะ, ลำคอ และส่วนบนของอกกลับสู่หัวใจ กลุ่มอาการอุดตันของหลอดเลือดดำใหญ่เกิดเมื่อหลอดเลือดดำอุดตัน
สาเหตุของการอุดตันดังกล่าวมักเกิดจากก้อนเนื้องอกไปกดหลอดเลือดดำ ซึ่งเกิดในบางคนที่เป็นมะเร็งปอดหรือเต้านม อย่างไรก็ตามก็ยังมีสาเหตุอื่นๆอีก เช่น วัณโรคและต่อมไทรอยด์บวม
อาการของกลุ่มอาการอุดตันของหลอดเลือดดำใหญ่สามารถพัฒนาตลอดเวลา ได้แก่:
-
หายใจเร็ว
-
ไอ
-
กลืนลำบาก
-
ปวดศีรษะ
-
วิงเวียนศีรษะ
ผู้ที่เป็นกลุ่มอาการอุดตันของหลอดเลือดดำใหญ่ควรรีบไปพบแพทย์
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
ควรไปพบแพทย์หากหน้าบวมอย่างต่อเนื่องมากกว่า 1-2วัน หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ปวด แดง หรือคัน
โทรเรียกรถฉุกเฉินหากพบว่าเป็นการแพ้ที่รุนแรง หรือไปสัมผัสสิ่งที่ก่อภูมิแพ้ หรือพิษจากแมลง
การแพ้ที่รุนแรง (Anaphylaxis) เป็นปฏิกิริยาการแพ้ที่รุนแรงเสี่ยงต่อชีวิต หากผู้แพ้มีอะดรีนาลีนแบบฉีดพกติดตัวและไม่สามารถฉีดเองได้ คุณสามารถใช้ยาดังกล่าวตามรายละเอียดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์
ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันทีหากมีคนแสดงอาการของกลุ่มอาการอุดตันของหลอดเลือดดำใหญ่ ระวังอาการเหล่านี้เป็นพิเศษหากบุคคลได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง
เทคนิคสำหรับการป้องกัน
มันยากแก่การป้องกันทุกสาเหตุที่ทำให้หน้าบวม แต่หากทำตามด้านล่างสามารถช่วยได้:
-
หลีกเลี่ยงสารที่ก่อภูมิแพ้ เช่น อาหารที่ก่อปัญหาและยา
-
รักษาสุขอนามัยในช่องปากอยู่เสมอ โดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน ก็สามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ฟัน
-
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และลดความเครียดเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน จะช่วยป้องกันการติดเชื้อบางอย่างที่ทำให้ใบหน้าบวม
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
https://www.healthline.com/health/facial-swelling
https://medlineplus.gov/ency/article/003105.htm
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5773992/
https://www.nhs.uk/conditions/angioedema/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก