กรดโฟลิค (Folic Acid)

กรดโฟลิค (Folic Acid)

21.07
2694
0

โฟเลท  และกรดโฟลิค คือ รูปแบบของวิตามินบีที่สามารถละลายได้ในน้ำ โฟเลตกับโฟลิคต่างกันอย่างไรหลายคนคงมีข้อสงสัย โฟเลตเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติพบได้ในอาหาร และกรดโฟลิค คือ วิตามินรูปแบบสังเคราะห์ นับตั้งแต่ปี 1998 กรดโฟลิคเคยถูกนำมาเติมในโคลด์ซีเรียล แป้ง ขนมปัง พาสต้า เบเกอรี่ คุ้กกี้และแครกเกอร์  ตามกฏหมายของสหรัฐ อาหารที่มีโฟลิคสูงตามธรรมชาติหมายรวมถึงผักใบเขียว (เช่นผักโขม บล็อคโคลี่และผักกาด) กระเจี๊ยบเขียว แอสปารากัส ผลไม้ (เช่นกล้วย เมลอนและเลมอน) ถั่ว ยีสต์ เห็ด เนื้อ(เช่นตับเนื้อและไต) น้ำส้ม และน้ำมะเขือเทศ 

กรดโฟลิคมีประโยชน์สำหรับการป้องกันและการรักษาระดับโฟลเลตในเลือดต่ำ (ภาวะพร่องโฟเลต) และระดับสารโฮโมซิสทีนในเลือดสูง (ภาวะ  Hyperhomocysteinemia) ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรืออาจเริ่มตั้งครรภ์ควรรับประทานกรดโฟลิคเพื่อป้องกันการแท้งบุตรและ “ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด” เป็นความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรง เช่น โรคสไปนา ไบฟิดา เป็นโรคที่กระดูกสันหลังและหลังของทารกไม่ปิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ กรดโฟลิคยังมีประโยชน์ต่ออีกหลายโรคซึ่งรวมไปถึงโรคซึมเศร้า โรคหลอดเลือดและสมอง การรับรู้ความทรงจำและทักษะความรู้คิดลดลงในผู้สูงอายุได้ดีกว่าปกติในคนวัยเดียวกัน กรดโฟลิคมีกนำมาใช้ร่วมกับวิตามินบีอื่นๆ

Folic acid กลไกทำงานอย่างไร 

กรดโฟลิค คือสิ่งจำเป็นในการพัฒนาการที่มีความเหมาะสมของร่างกายมนุษย์ ซึ่งยังรวมไปถึงการผลิตสารพันธุกรรมที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ และการทำงานของร่างกายอื่นๆมากมาย

ประโยชน์และประสิทธิภาพ  

ประสิทธิภาพสำหรับภาวะพร่องโฟเลต

  • ภาวะพร่องโฟเลต การรับประทานกรดโฟลิคจะช่วยทำให้การพร่องโฟเลตดีขึ้น

อาจมีประสิทธิภาพสำหรับ

  • ภาวะไตวาย ราว 85% ของคนที่เป็นไตวายจะมีระดับสารโฮโมซิสทีนในเลือดสูง ซึ่งมีส่วนในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดและสมอง การรับประทานกรดโฟลิคเพื่อลดระดับสารโฮโมซิสทีนในเลือดสูงในคนที่เป็นไตวาย ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
  • สารโฮโมซิสทีนในเลือดสูง มักพบว่ามีส่วนร่วมกับกับโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง การรับประทานกรดโฟลิคช่วยลดระดับสารโฮโมซิสทีนลงได้ 20% ถึง 30 %ในคนปกติไปถึงคนที่สารโฮโมซิสทีนสูงเล็กน้อย จึงมีคำแนะนำให้คนที่มีระดับโฮโมซิสทีนสูง รับประทานกรดโฟลิค 11 มิลลิโมลต่อลิตรร่วมกับวิตามินบี12 
  • ความเป็นพิษที่อาจมีสาเหตุมาจากยาเมโธเทรกเซท การรับประทานกรดโฟลิคอาจช่วยลดอาการคลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงจากการรักษาเมโธเทรกเซท
  • ความพิการแต่กำเนิดของสมองและกระดูกสันหลัง (ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด) การทานกรดโฟลิคในระหว่างการตั้งครรภ์จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิด จึงได้มีคำแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานกรดโฟลิค 600-800 ไมโครกรัมต่อวัน โดยเริ่มรับประทานอาหารเสริมโฟลิคหนึ่งเดือนก่อนเริ่มการตั้งครรภ์และในระหว่างการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติเป็นภาวะหลอดประสาทไม่ปิดมาก่อน จะแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิค 4000 ไมโครกรัมต่อวัน

ประสิทธิผลที่อาจเป็นไปได้สำหรับ

  • ช่วยการรับรู้ความจำและทักษะการรู้คิดในผู้สูงอายุได้ดีกว่าปกติในคนวัยเดียวกัน รับประทานกรดโฟลิคพร้อมหรือไม่พร้อมอาหารเสริมอื่นๆอาจช่วยทำให้ความจำและทักษะความรู้คิดในคนสูงอายุที่มีอาการนี้ดีขึ้น กรดโฟลิคดูเหมือนจะทำงานดีที่สุดในคนที่มีระดับโฟเลตต่ำหรือระดับโฮโมซิสทีนในเลือดสูง
  • ภาวะซึมเศร้า มีการวิจัยจำกัดที่แสดงให้เห็นว่าการรับประทานกรดโฟลิคร่วมกับยาต้านเศร้าดูเหมือนจะทำให้อาการของคนที่เป็นซึมเศร้าดีขึ้น 
  • ความดันโลหิตสูง จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานกรดโฟลิคเป็นประจำทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์จะช่วยลดความดันเลือดในคนที่มีระดับความดันโลหิตสูงได้ แต่การรับประทานกรดโฟลิคพร้อมยาลดความดันโลหิตดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยลดความดันเลือดได้มากกว่าการรับประทานยาลดความดันเลือดเพียงอย่างเดียว
  • ภาวะเหงือกโตที่มีสาเหตุมาจากยาเฟนิโทอิน การทากรดโฟลิคลงที่เหงือกดูเหมือนจะช่วยป้องกันปัญหาเหงือกที่มีสาเหตุมาจากยาเฟนิโทอิน แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานกรดโฟลิคด้วยการรับประทานอาจไม่ช่วยทำให้อาการดังกล่าวดีขึ้น
  • ภาวะโรคหลอดเลือดและสมอง การรับประทานกรดโฟลิคช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอเลือดและสมองลงได้ 10% ถึง 25% ในคนที่อาศัยอยู่ในแถบประเทศที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่มีการเติมสารอาหารด้วยกรดโฟลิค แต่กรดโฟลิคดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและสมองในคนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีผลิตภัณฑ์ที่มีการเติมสารอาหารด้วยกรดโฟลิค   
  • โรคผิวหนังที่มีสาเหตุทำให้เกิดฝ้าสีขาวที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง (โรคด่างขาว) การรับประทานกรดโฟลิคดูเหมือนจะช่วยทำให้อาการของโรคด่างขาวดีขึ้น

Folic Acid

อาจไม่ได้ผลสำหรับ

  • ระดับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีสุขภาพดีต่ำเพราะภาวะพร่องธาตุเหล็ก การรับประทานกรดโฟลิคพร้อมอาหารเสริมธาตุเหล็กไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากไปกว่าการรับประทานอาหารเสริมเพียงอย่างเดียวสำหรับการรักษาและการป้องกันภาวะพร่องเหล็กและโลหิตจางที่เกิดจากมีธาตุเหล็กน้อยในร่างกาย
  • ความจำและทักษะการรู้คิดลดลงที่เกิดขึ้นตามวัยที่เพิ่มขึ้นตามปกติ จากการวิจัยส่วนใหญ่พบว่าการรับประทานกรดโฟลิคไม่สามารถช่วยป้องกันความจำและทักษะการรู้คิดในผู้สูงอายุที่ลดลงได้
  • โรคต้อกระจก จากการวัจัยพบว่าการรับประทานกรดโฟลิคร่วมกับวิตามินเช่นวิตามินบี6และวิตามินบี12ไม่สามารถป้องกันโรคต้อกระจกได้ ในความจริงกรดโฟลิคอาจช่วยเพิ่มโอกาสให้โรคต้อกระจกถูกกำจัดออกไปได้
  • ท้องเสีย การรับประทานอาหารเสริมเฉพาะที่มีการเติมกรดโฟลิคและวิตามินบี12เข้าไป ดูเหมือนจะไม่สามารถป้องกันอาการท้องเสียในเด็กที่เสี่ยงต่อทุพโภชนาการได้ การรับประทานผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจไปเพิ่มความเสี่ยงให้มีอาการท้องเสียได้มากกว่าสองสามวัน
  • การป้องกันการหกล้ม การรับประทานกรดโฟลิคพร้อมวิตามินบี 12 ดูเหมือนจะไม่ช่วยป้องกันการล้มในผู้สูงอายุที่รับประทานวิตามินดี
  • ภาวะการมีบุตรยาก กรดโฟลิคเพียงอย่างเดียวหรือที่มีส่วนผสมกับตัวอื่นๆดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยเรื่องภาวะมีบุตรยาก
  • การเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือทารกคลอดก่อนกำหนด การรับประทานกรดโฟลิคในระหว่างการตั้งครรภ์ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของเด็กทั้งก่อนหรือหลังคลอด
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) การรับประทานโฟเลตในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก
  • กระดูกอ่อนแอและแตกหัก (ภาวะกระดูกพรุน) ผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุน การรับประทานกรดโฟลิคพร้อมวิตามินบี12และอาจร่วมด้วยวิตามิรบี6 (ไพริด็อกซิน) ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยป้องกันการแตกหักของกระดูก
  • สมรรถภาพทางร่างกายในผู้สูงอายุ การรับประทานกรดโฟลิคพร้อมวิตามินบี12 ดูเหมือนจะไม่ช่วยทำให้ผู้สูงอายุเดินได้ดีขึ้นหรือมีมือที่แข็งแรงขึ้น
  • ภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์จากความดันโลหิตสูงและมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ กรดโฟลิคในปริมาณสูงไม่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอาการดังกล่าว 
  • การติดเชื้อในทางเดินหายใจ การรับประทานอาหารเสริมบางอย่างเฉพาะพร้อมกรดโฟลิคและวิตามินบี 12 ไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในปอดของเด็กที่มีความเสี่ยงทุพโภชนาการ

ผลข้างเคียง

กรดโฟลิคชนิดรับประทาน : กรดโฟลิคค่อนข้างมีความปลอดภัยสำหรับคนส่วนมาก ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเคบได้รับผลข้างเคียงจากการรับประทานกรดโฟลิคในปริมาณน้อยกว่า 1 มก.เป็นประจำทุกวัน 

กรดโฟลิคอาจไม่ปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณมากและระยะยาว ถึงแม้ว่าจากการวิจัยจะบอกว่าสามารถรับประทานได้มากถึง 5 มก.เป็นประจำทุกวันได้อย่างปลอดภัยก็ตาม การได้รับกรดโฟลิคมากกว่า 1 มก.ทุกวันก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดเกร็งหน้าท้อง ท้องเสีย มีผื่นขึ้น ความผิดปกติด้านการนอน หงุดหงิด สับสน คลื่นไส้ ปวดท้อง พฤติกรรมเปลี่ยน มีปฏิกิริยาทางผิวหนัง ชัก มีแก๊ส ถูกกระตุ้นง่ายและผลข้างเคียงอื่นๆ 

สิ่งที่น่าเป็นกังวลในการรับปรระทานกรดโฟลิคมากเกินไปเป็นเวลานานอาจเป็นสาเหตุของผลข้างเคียงที่รุนแรง จากการวิจัยบางงานพบว่าการรับประทานกรดโฟลิคในปริมาณ 800 ไมโครกรัมถึง 1.2 มก. เป็นประจำทุกวันอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายในคนที่หัวใจมีปัญหา จากการศึกษาอื่นๆได้แนะนำว่าการรับประทานในปริมาณสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงในโรคมะเร็งเช่นมะเร็งปอดหรือมะเร็งต่อมลูกหมาก

เมื่อเลือกแบบชนิดฉีด: กรดโฟลิคมักมีความปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มีกไม่ค่อยมีผลข้างเคียงเมื่อใช้ในปริมาณน้อยกว่า 1 มก. เป็นประจำทุกวัน

ข้อควรระวังเป็นพิเศษและคำเตือน

หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร กรดโฟลิคมีความปลอดภัยเมื่อรับประทานอย่างเหมาะสมขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร รับประทาน 300-400 ไมโครกรัมเป็นประจำทุกวันสามารถใช้ได้ในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อเป็นการป้องกันความพิการแต่กำเนิด ปริมาณที่แนะนำสูงสุดของกรดโฟลิคในระหว่างตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรคือ 800 ไมโครกรัมสำหรับแม่ที่อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป 

สำหรับเด็ก:  กรดโฟลิคมีความปลอดภัยในการรับประทานในปริมาณที่แนะนำสำหรับแต่ละช่วงอายุแต่ละกลุ่ม แต่สำหรับเด็กควรรับประทานกรดโฟลิค 300 ไมโครกรัมสำหรับเด็กอายุ 1-3 ขวบ 400ไมโครกรัมสำหรับเด็กอายุ 4-8 ขวบ 600 ไมโครกรัมสำหรับเด็กอายุ 9-13 ปี และ 800 ไมโครกรัมสำหรับเด็กอายุ 14-18  ปี 

โรคมะเร็ง: จากการวิจัยพบว่าการรับประทานกรดโฟลิค 800 ไมโครกรัมถึง 1 มก. เป็นประจำทุกวันอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง จนกว่าจะรู้มากพอคนที่เคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็งจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกรดโฟลิคในปริมาณสูง

โรคชัก: การรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิคอาจทำให้อาการชักแย่ลงในคนที่เป็นโรคลมชัก โดยเฉพาะในปริมาณสูง

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *