โรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Swollen Lymph Nodes) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Swollen Lymph Nodes) : อาการ สาเหตุ การรักษา

11.06
43696
0

โรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Swollen Lymph Nodes) คือ ความผิดปกติที่เกิดจากก้อนเนื้อเยื่อขนาดเท่าเม็ดถั่วที่เก็บรวบรวมเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อใช้ต่อสู้กับเชื้อต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่เมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้นในตำแหน่งที่มีต่อมน้ำเหลืองจะทำให้เกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองบวม มักพบได้ที่ใต้คาง ในลำคอ รักแร้ หรือบริเวณขาหนีบ 

โดยปกติระบบไหลเวียนของต่อมน้ำเหลืองในร่างกายจะไหลผ่านทั่วร่างกายไปเป็นช่องๆ คล้ายๆกับหลอดเลือด ต่อมน้ำเหลืองทำหน้าที่เป็นจุดตรวจคัดกรองสิ่งต่างๆ  หากเจอแบคทีเรีย ไวรัสและเซลล์ที่ผิดปกติผ่านเข้ามาทางต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองจะทำหน้าที่หยุดสิ่งผิดปกติเหล่านี้เลยส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองบวมและโต เมื่อเกิดการติดเชื้อหรือภาวะร่างกายเจ็บป่วยต่อมน้ำเหลืองจะสะสมสิ่งสกปรกจำพวก แบคทีเรีย หรือเซลล์เชื้อโรคที่ตายแล้ว 

สาเหตุที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีดังนี้

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ การเจ็บป่วย หรือความเครียดได้และ ต่อมน้ำเหลืองเป็นสัญญาณของการทำงานในร่างกายเพราะมันทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการบ่งบอกสิ่งผิดปกติได้ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อจากตำแหน่งของต่อมน้ำเหลือง เช่นหากต่อมน้ำเหลืองที่คอโต สาเหตุอาจมาจากการติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจที่มาจากการเป็นโรคหวัด 

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบบริเวณศีรษะและคอนั้นมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วยดังนี้ 

สาเหตุที่รุนแรงอย่างหนึ่ง อาจมาจากความผิดปกติของระบบภูมคุ้มกัน หรือมาจากโรคมะเร็งด้วยเนื่องจากโรคเหล่านี้สามารถทำให้ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกายโตโดยยกตัวอย่างเช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคไขข้ออักเสบ ในส่วนของโรคมะเร็งเชื้อมะเร็งจะแพร่กระจายทั่วร่างกาย ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองบวมและโต เมื่อเซลล์มะเร็งแพร่กระจายเข้าไปทั่วร่างกายแล้วนำไปสู่การเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น 

การใช้ยาบางชนิด และการแพ้ยาบางชนิด ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ต่อมเหลืองโตได้อาทิเช่น ยาต้านไวรัส ยาต้านมาลาเรีย ร่วมทั้งการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่นโรคซิฟิลิส โรคหนองใน ส่งผลทำให้ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโต

ต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ทั่วร่างกายและจะอยู่ใต้ผิวหนังในบริเวณดังนี้ 

  • ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
  • ต่อมน้ำเหลืองใต้คาง
  •   ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกร
  •   ต่อมน้ำเหลืองที่คอ
  •   ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง
  •   ต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหู

Swollen Lymph Nodes

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบอื่น ๆ คือ

  • เกิดจากการติดเชื้อของเนื้อหรือบริเวณอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยสุดของต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เช่น การอักเสบของช่องปากและช่องคอจากเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคออักเสบ หรือต่อมน้ำเหลืองใต้คางบวม
  • เกิดจากการติดเชื้อของต่อมน้ำเหลืองเอง อาจเกิดจากการที่ต่อมน้ำเหลืองติดเชื้อโดยตรงและสาเหตุการติดเชื้อที่ต่อมน้ำเหลืองโดยตรงมักทำให้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบและโตหลายต่อมพร้อมๆ กัน จะทำให้อวัยวะใกล้เคียงติดเชื้อรุนแรงจนเชื้อลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และต่อมน้ำเหลืองที่อักเสบมีลักษณะบวม แดง เจ็บ เป็นหนอง 
  • ต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อและเช่นมาจากผลข้างเคียงของการแพ้ยาบางชนิดเช่นยารลดกรดยูริกและยารักษาโรคเกาต์อัลโลพูรินอล 
  • ไม่พบสาเหตุการเกิดกรณีนี้พบได้ประมาณ 0.5-1%  

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีดังนี้ 

การตรวจต่อมน้ำเหลืองอักเสบ 

ต่อมน้ำเหลืองอาจมีขนาดเล็กเท่ากับเม็ดถั่ว หรือใหญ่เท่ากับผลเชอรี่  หากต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เมื่อสัมผัสแล้วจะมีอาการเจ็บป่วย รวมทั้งหากเคลื่อนไหวร่างกายบริเวณตำแหน่งที่ต่อมน้ำเหลืองจะทำให้มีอาการเจ็บได้ 

หากต่อมน้ำเหลืองที่คอหรือต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโต เวลาหันศีรษะ จะทำให้มีอาการเจ็บปวด แม้กระทั่งเคี้ยวอาหารอาจส่งผลให้มีอาการเจ็บ หากเอามือไปจับบริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองอักเสบลักษณะบริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองจะเป็นผิวบวมขึ้นมาโดยจะอ่อนนุ่มหากต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโต เวลาเดินจะมีอาการเจ็บ 

หากเกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบ จะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยดังนี้ 

  • ไอ
  • เหนื่อย เมื่อยล้า
  • เป็นไข้
  • รู้สึกหนาว
  • น้ำมูกไหล
  • เหงื่อออก

หากพบอาการผิดปกติ เหล่านี้ หรือหากเจ็บปวดบริเวณต่อมน้ำเหลือง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากไม่รีบรักษา อาจจะทำให้ทำต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นสัญญาของโรคมะเร็งได้ 

ผู้ป่วยบางราย หากต่อมน้ำเหลืองที่บวมแล้ว มีขนาดเล็กลง หรือหายไป นั่นอาจะเป็นเพราะอาการที่ทำให้เกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองหมดไปแล้ว ตแต่หากต่อมน้ำเหลืองอักเสบและบวมขึ้น และยังไม่หาย นานกว่า 2-3 วัน ควรรีบพบแพทย์ทันที 

การวินิจฉัยต่อมน้ำเหลืองอักเสบ 

หากผู้ป่วยมีอาการปวดหัว หรือป่วยอย่างรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการและรักษาได้ทันท่วงที ตามระยะของอาการ และหาสาเหตุที่มาของอาการ

แพทย์จะซักถามประวัติการเจ็บป่วยหรือประวัติทางการรักษาของผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีประวัติการรักษาโรค อาจสอบถามประวัติการทานยาเพราะยาบางชนิดส่งผลทำให้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบได้หลังจากที่แพทย์ได้พูดคุยและสอบถามประวัติของผู้ป่วยแล้ว แพทย์จะตรวจร่างกาย และตรวจสอบบริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ดูขนาด และลักษณะอาการบวมของต่อมน้ำเหลืองอาจตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุร่วมด้วย 

แพทย์จะใช้วิธีการถ่ายภาพเพื่อตรวจดูสภาพของต่อมน้ำเหลือง และบริเวณใกล้เคียงอื่นๆ ด้วย รวมทั้งใช้วิธี CT Scan, MRI, ใช้รังสีเอ็กซ์ (X-rays) และอัลตราซาวน์ ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อนำไปวินิจฉัยสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองอักเสบโดยการใช้เข็มเล็กๆเจาะเอาเนื้อเยื้อบริเวณที่เป็นต่อมน้ำเหลืองอออกมา หลังจากนั้นจะนำชิ้นเนื้อเข้าสู่ห้องแลปเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป 

วิธีรักษาอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

ต่อมน้ำเหลืองอาจเล็กลงได้เอง หรือสามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องพบแพทย์แต่หากมีการติดเชื้อแล้ว แพทย์จะให้ยารักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เช่น ยาต้านไวรัส หรือยาปฏิชีวนะ ให้ผู้ป่วยมารับประทาน เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการอักเสบต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ยาที่ใช้รักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เช่น แอสไพรินและไอบูโพรเฟน 

ต่อมน้ำเหลืองเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคมะเร็ง จะไม่เล็กลงเลย จนกว่าจะได้รับยารักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโดยตรง ซึ่งการรักษาโรคมะเร็งอาจต้องผ่าตัดเอาเนื้อเยื้อออกหรือเอาส่วนที่เป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบออก นอกจากนี้อาจใช้วิธีรักษาแบบเคมีบำบัดเพื่อรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองด้วย 


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *