ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) : อาการ สาเหตุ การรักษา

16.04
1201
0

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) จะทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจซ้ำ  ๆ หลายครั้งในระหว่างที่กำลังนอนหลับ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่ ง่วงนอนตอนกลางวัน กรนเสียงดัง และนอนไม่หลับ

คนส่วนมากที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะหยุดหายใจขณะหลับ อาการนี้เกิดจากการอุดตันทางเดินหายใจส่วนบน และมีอีกลักษณะอาการที่เรียกว่าอีกประเภทหนึ่งคือ การหยุดหายใจเนื่องจากการทำงานของสมองส่วนกลาง (CSA) เกิดจากปัญหาการส่งสัญญาณในระบบประสาท

เมื่อทางเดินหายใจปิดลงหรือมีสัญญาณค้าง ผู้ป่วยจะหยุดหายใจ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ แต่จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ระหว่างที่กำลังนอนหลับ เมื่อพวกเขาหายใจอีกครั้งพวกเขาอาจกรน หายใจเข้าลึก ๆ หรือตื่นนอนขึ้นมาพร้อมความรู้สึกหายใจไม่ออก หายใจติดขัดหรือสำลัก

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หากไม่ทำการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ และภาวะซึมเศร้าได้  นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกง่วงซึม เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถ หรือทำงาน

สาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการอุดตัน หรือทางเดินหายใจไม่ทำงานนั้น ประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้:

      กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในปากและลำคอหย่อน

      อาการคัดจมูก

      เนื้อเยื่อหนาขึ้น และมีไขมันสะสมรอบ ๆ ทางเดินหายใจ

      ปัญหาทางระบบประสาท

สิ่งเหล่านี้อาจเกิดจาก:

      ปัจจัยทางพันธุกรรม

      หวัด และภูมิแพ้

      โรคอ้วน

      ปัญหาต่อมไทรอยด์

      หัวใจ หรือไตวาย

      ต่อมทอนซิลโต หรือบวม

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ แต่มักหายไปเองเมื่อโตขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้แก่ :

      อายุที่มากขึ้น

      โรคอ้วน

      ไซนัสอักเสบ

      โรคภูมิแพ้

      บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

      การสูบบุหรี่

      การตั้งครรภ์

      คัดจมูก

      ปัญหาต่อมไทรอยด์ และฮอร์โมน

      โรคเบาหวาน

      ขนาดของลำคอใหญ่

      วัยทอง

      ต่อมทอนซิลขนาดใหญ่ หรือโรคเนื้องอกในจมูก

      ดาวน์ซินโดรม

      ประวัติครอบครัวมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

      คางสั้น หรือฟันเหยินมาก

การศึกษาในปี 2020 พบว่าการอักเสบอาจมีส่วนที่ทำให้เกิดการหยุดหายใจขณะหลับ

ผู้เชี่ยวชาญพบความสัมพันธ์ของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากระบบประสาท กับสิ่งต่อไปนี้:

      โรคที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่นโรคไข้สมองอักเสบ

      ความผิดปกติของระบบประสาท และไต

      หัวใจล้มเหลว

      โรคหลอดเลือดสมอง

      ภาวะที่ต้องปรับตัวให้ชินกับความสูง

      การใช้โอพิออย และยาซึมเศร้าอื่น ๆ

      เมื่อขึ้นที่สูงอย่างรวดเร็ว

      การใช้ยาบรรเทาอาการปวด

อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ผู้ป่วยที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับอาจไม่รู้ถึงอาการของตนเอง แต่อีกผู้อื่นจะสามารถสังเกตเห็นอาการของผู้ป่วยได้ ประกอบด้วย:

      หยุดหายใจชั่วขณะ ตามด้วยเสียงหายใจดัง

      อ้าปากค้างเพื่อหายใจ

      กรนเสียงดัง

ตัวผู้ป่วยก็สามารถสังเกตอาการตนเองได้ว่ามีรายละเอียดดังนี้ :

      ความเหนื่อยล้า

      หายใจติดขัดเวลานอน

      รู้สึกพักผ่อนไม่พอ หรือนอนไม่หลับ

      ความยากลำบากในการรวบรวมสมาธิ

      รู้สึกตัวตื่นหลายครั้งเพื่อปัสสาวะในแต่ละคืน

      ตื่นขึ้นด้วยอาการปากแห้ง หรือเจ็บคอ

      ปวดศีรษะ

      ความหงุดหงิด

      ลดอารมณ์ และสมรรถภาพทางเพศ

ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเพิ่มความเสี่ยง ต่ออาการต่อไปนี้:

      อาการหอบหืด

      หัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว

      โรคมะเร็ง

      โรคไตเรื้อรัง

      ความสามารถในการรวบรวมสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับความจำและการเรียนรู้ต่าง ๆ

      โรคสมองเสื่อม (Dimentia)

      ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด เนื่องจากปริมาณออกซิเจนลดลง

      ภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์

      ความผิดปกติของดวงตา เช่นต้อหิน

      ความผิดปกติในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน รวมถึงโรคเบาหวานประเภท 2 และความดันโลหิตสูง

      โรคหลอดเลือดสมอง

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้หายใจเป็นปกติในระหว่างการนอนหลับ และแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เผชิญอยู่  ตัวเลือกจะขึ้นกับสาเหตุ และความรุนแรงของอาการ

การรักษาด้วยการปรับวิถีการใช้ชีวิต

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมีความสำคัญที่ช่วยปรับการหายใจให้กลับมาเป็นปกติ และเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญต่อการรักษา ได้แก่ :

      รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

      การปรับนิสัยการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ

      การควบคุมปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์

      เลิกสูบบุหรี่

      การควบคุมน้ำหนัก

      นอนในท่าตะแคง

Obstructive Sleep Apnea

 การรักษาด้วยวิธีทางเลือก

การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่น ๆ ได้แก่ :

การบำบัดด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกอย่างต่อเนื่อง (CPAP)

แนวทางการรักษาที่สำคัญสำหรับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คือการช่วยให้ทางเดินหายใจเปิด โดยการให้อากาศที่มีแรงดันบวกคงที่ผ่านหน้ากาก

หากผู้ป่วยมีปัญหาในการใช้ CPAP ให้หยุดทำการรักษาก่อนจะได้รับผลข้างเคียง อย่างไรก็ตามมีมาตรการที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้อุปกรณ์ได้สะดวกขึ้น และระยะเวลาในการปรับตัวราบรื่นขึ้น

ผู้ป่วยบุคคลสามารถปรับหน้ากาก และตั้งค่าอุปกรณ์ การเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับอากาศที่ไหลผ่านหน้ากากสามารถบรรเทาอาการระคายเคืองที่จมูกได้

การรักษาด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดสามารถขยายทางเดินหายใจในผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ การผ่าตัดจะช่วยให้เนื้อเยื่อที่อุดตันเรียบ หรือหดตัวได้ หรือผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อส่วนเกิน หรือต่อมทอนซิลที่โตออกไป

ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาล โดยพิจารณลักษณะอาการเพื่อกำหนดวิธีการผ่าตัด

การรักษาด้วยอุปกรณ์ปรับตำแหน่งขากรรไกรล่าง (MRD)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ภายในช่องปากที่ต้องสั่งทำเป็นพิเศษและมีขนาดพอเหมาะเป็นรายบุคคล เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจระดับไม่รุนแรง หรือปานกลาง

อุปกรณ์นี้จะจัดขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งเคลื่อนไปข้างหน้าระหว่างนอนหลับ เพื่อขยายพื้นที่ด้านหลังลิ้น วิธีนี้ช่วยให้ทางเดินหายใจส่วนบนเปิด ป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และการกรน

ผลข้างเคียงของ MRD อาจทำให้รู้สึกปวดกราม หรือฟัน หากใช้งานอย่างรุนแรงมากขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อข้อต่อได้ชั่วคราว

การรักษาด้วยยา

ยาบางชนิดสามารถรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากการทำงานของระบบประสาทได้ แต่ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ตัวอย่างยาที่ใช้ ได้แก่ :

      อะซิตาโซลาไมด์

      โซลพิเดม

      ไตรอะโซแลม

อย่างไรก็ตามยาเหล่านี้อาจมีผลเสียที่รุนแรง และอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยทุกคน

สรุปภาพรวมภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาทั่วไปที่ทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจในระหว่างกำลังนอนหลับ อาจนำไปสู่ความเหนื่อยล้า และความยากลำบากในการรวบรวมสมาธิ และอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสภาพทั่ว ๆ ไปของร่างกาย

บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าตนเองมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่คนที่อยู่ด้วยกันจะสังเกตเห็น

หากพบว่าตนเองมีอาการง่วงนอนตอนกลางวันควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และกำหนดแนวทางการรักษาต่อไป

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

       https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/obstructive-sleep-apnea/symptoms-causes/syc-20352090

       https://www.healthline.com/health/sleep/obstructive-sleep-apnea

       https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-apnea/understanding-obstructive-sleep-apnea-syndrome

       https://www.sleepfoundation.org/sleep-apnea

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *