หายใจไม่ออก (Difficulty Breathing) ทั้งในกรณีที่มีอาการรุนแรง และไม่รุนแรง ผู้ที่มีปัญหาการหายใจจะรู้สึกหายใจไม่ออก ทั้งในขณะที่กำลังหายใจเข้าหรือออก เกิดความรู้สึกเหมือนกับว่าไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
หลายครั้งที่ผู้มีปัญหาในการหายใจจะเกิดอาการหลังออกกำลังกาย หรือเกิดความรู้สึกวิตกกังวล บางกรณีการหายใจลำบากคือสัญญาณเตือนของโรคบางอย่าง จึงจำเป็นต้องหาสาเหตุเพื่อแก้ไข
สาเหตุของอาการหายใจไม่ออก
ภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลอาการหายใจลำบาก ประกอบไปด้วย
หวัดหรือไข้หวัดใหญ่: ผู้ที่เป็นโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่มักหายใจลำบาก โรคนี้มักทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้:
เมื่อป่วยเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ หรือเกิดการติดเชื้อในทรวงอกจะทำให้เกิดอาการหายใจลำบากได้
โรคหวาดวิตก: ความหวาดวิตกจะส่งผลห้เกิดอาการทางร่างกาย อย่างการหายใจถี่ หรือหายใจลำบาก ภาวะการหายใจมีแนวโน้มกลับสู่ภาวะปกติเมื่อสามารถคลายความหวาดวิตกได้
อาการหวาดวิตกอื่น ๆ ได้แก่ :
-
รู้สึกหวาดวิตก หรือเป็นกังวล
-
อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น
-
รู้สึกไม่สบายตัว
-
เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
-
ไม่ค่อยมีสมาธิ
-
พบปัญหาการย่อยอาหาร
กรณีรู้สึกหวาดวิตกมาก ๆ หรือตื่นตระหนกจนเสียขวัญจนเกิดอาการคล้ายหัวใจวาย หรืออาการอื่น ๆ ดังนี้:
-
หัวใจเต้นเร็วขึ้น แรงขึ้น
-
เกิดอาการสำลัก
-
เหงื่อออกมาก
-
ชาหรือรู้สึกเสียวซ่า
-
หนาวสั่นหรือรู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ
โรคหอบหืด: โรคหอบหืด (Ashma) เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้ทางเดินหายใจอักเสบ โรคหอบหืดอาจปรากฎอาการเป็นครั้งคราว เกิดเมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น ความไวต่อสิ่งกระตุ้นในแต่ละคนจะแตกต่างกัน ทั้งการออกกำลังกาย สูบบุหรี่หรือสารก่อภูมิแพ้บางชนิด
อาการหอบหืดที่พบได้บ่อย ได้แก่ :
-
หายใจไม่ออก
-
ไอเรื้อรัง
-
แน่นหน้าอก
-
นอนไม่หลับเนื่องจากไอ หรือหายใจไม่ออก
การสำลัก: การสำลักเกิดขึ้นเมื่อมีวัตถุเข้าไปติดในลำคอ วัตถุนั้นอาจเป็นอาหารชิ้นใหญ่ ของเล่น หรือของที่กินไม่ได้ ที่เด็ก ๆ มักชอบอมเอาไว้ในปาก การสำลักอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หากไม่สามารถนำของที่ติดค้างออกมาได้ การกำจัดของวัตถุนั้นจะช่วยให้สามารถหายใจได้ตามปกติ
อาการทั่วไปของการสำลัก ได้แก่ :
-
เกิดการปิดทางเดินหายใจจากวัตถุที่ติดข้าง
-
ไอ
-
หายใจไม่ออก
-
มีอาการตื่นตระหนกและตกใจบริเวณลำคอ
หากวัตถุที่ติดในลำคอปิดกั้นทางเดินหายใจทั้งหมด จะทำให้ไม่สามารถหายใจได้ นับเป็นเหตุร้ายแรงต่อชีวิต
สัญญาณที่บ่งบอกว่ามีวัตถุติดลำคอ ได้แก่ :
-
สลบไม่ได้สติ
-
ริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ
-
หายใจไม่ออก
-
ไม่สามารถพูดได้
หายใจลำบากหลังรับประทานอาหาร: ปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจทำให้เกิดปัญหาหายใจลำบากหลังรับประทานอาหารได้ อาการหายใจถี่หลังรับประทานอาหารมากเกินไป คืออาการหนึ่งของผู้ป่วยเป็นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เนื่องจากอาหารจะเข้าไปเบียดกะบังลมและทำให้หายใจลำบากขึ้น
กรดไหลย้อนก็ส่งผลต่อการหายใจ เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารที่ไหลไปยังหลอดอาหาร จะทำให้เยื่อหลอดอาหารเกิดอาการระคายเคือง ทำให้หายใจลำบาก และ กรดไหลย้อนยังส่งผลให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้
หายใจลำบากหลังออกกำลังกายหรือเป็นโรคอ้วน: ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำอาจมีอาการหายใจลำบาก
น้ำหนักตัวหรือการไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอคือสาเหตุของอาการหายใจลำบาก ควรหมั่นออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อลดอาการดังกล่าว
โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง: โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังเกิดจากความผิดปกติในปอดหลายอย่างรวมกัน ทั้งโรคหอบหืดเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังมักแย่ลงในเวลากลางคืน เนื่องจากวิธีการหายใจขณะนอนหลับ
โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังทำให้เกิดอาการต่างๆเช่น:
-
หายใจถี่
-
เจ็บหน้าอก แน่นอก หายใจไม่ค่อยออก
-
ไอ
-
เหนื่อยง่าย เพราะออกซิเจนในเลือดลดลง
โรคถุงลมโป่งพอง : ถือเป็นหนึ่งในอาการของโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพองจะทำให้ถุงลมแฟบและทำลายถุงลมได้ การสูดดมควันบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคนี้
อาการหลักของโรคถุงลมโป่งพอง ได้แก่ :
-
ไอ
-
เสมหะเพิ่มขึ้น
-
หายใจถี่ในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ
การแพ้ชนิดรุนแรง : อาการแพ้อย่างรุนแรงเป็นภาวะอันตรายถึงชีวิต ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ทันที มักเป็นอาการแบบเฉียบพลัน แต่ก็อาจมีสัญญาณและอาการเตือนล่วงหน้า
อาการแพ้ชนิดรุนแรง ได้แก่:
-
รู้สึกแน่นในลำคอ
-
หายใจลำบาก
-
เสียงแหบ
-
อาการปวดท้อง
-
หัวใจหยุดเต้น
-
เวียนหัว
-
หัวใจเต้นเร็ว
-
คลื่นไส้
-
ความดันโลหิตต่ำ
-
รู้สึกไม่สบายตัว
-
แน่นอกหายใจไม่ค่อยออก
การตั้งครรภ์ : เมื่ออายุครรภ์ทารกในครรภ์จะมีขนาดใหญ่ และเริ่มเบียดอวัยวะและกล้ามเนื้อโดยรอบ รวมถึงกะบังลมซึ่งเป็นกล้ามเนื้อบริเวณใต้ปอดจึงทำให้หายใจลำบาก นอกจากอาการมดลูกเบียดแล้ว ในระหว่างตั้งครรภ์ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ร่างกายผลิตขึ้นมามากในระหว่างตั้งครรภ์ ยังส่งผลให้การหายใจลึก ๆ ทำได้ยาก
หากมีอาการอื่นร่วมแสดงว่าการตั้งครรภ์อาจไม่ใช่สาเหตุของอาการหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์
หัวใจวาย : การหายใจลำบากเป็นสัญญาณเตือนทั่วไปของอาการหัวใจวาย ดังนั้นหากมีอาการดังต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที:
-
อึดอัดบริเวณหน้าอก
-
หายใจไม่ค่อยออก
-
รู้สึกไม่สบายบริเวณหลัง กราม คอ ท้อง หรือแขนข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
-
ตาพร่ามัว
-
เหงื่อเย็นชื้น
-
คลื่นไส้
การวินิจฉัยอาการหายใจลำบาก
สาเหตุของการหายใจลำบากมีหลายสาเหตุ เมื่อพบว่ามีอาการหายใจลำบากโดยไม่ทราบสาเหตุควรรีบไปพบแพทย์ นอกจากถามเกี่ยวกับอาการแล้ว แพทย์อาจพิจารณาทดสอบเพิ่มเติม ดังนี้:
-
การทดสอบภูมิแพ้
-
เอ็กซ์เรย์บริเวณหน้าอก
-
ทดสอบการทำงานของปอด
-
การทำ CT สแกน
-
การตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด การทดสอบการหดเกร็งของหลอดลม
-
ปริมาณก๊าซต่าง ๆ ในเลือด
ใครบ้างที่เป็นผู้ที่มีความเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาการหายใจ
ตัวอย่างกรณีเด็กมีความเสี่ยงต่อการสำลักมากกว่าผู้ใหญ่ ส่วนผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้สูงกว่า ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดมีความเสี่ยงพบปัญหาการหายใจหลังออกกำลังกาย หรือสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้
การรักษาอย่างต่อเนื่อง และการรับประทานอาหารที่สมดุล มีประโยชน์ต่อร่างกายสามารถช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ ของการหายใจได้
อาการหายใจไม่ออก
อาการหายใจไม่ออกคืออาการหายใจไม่อิ่ม ผู้ป่วยอาจรู้สึกหายใจยากขึ้นแต่ก็ยังหายใจได้อยู่ โดยทั่วไปอาการนี้จะทำให้ผู้ป่วยต้องออกแรงในขณะหายใจ ผู้ป่วยรู้สึกหายใจไม่ออก ผู้ป่วยรู้สึกแน่นหน้าอก
การรักษาอาการหายใจลำบาก
การรักษาอาการหายใจลำบาก คือการรักษาที่สาเหตุ รวมถึง:
-
การกำจัดวัตถุที่ติดในลำคอ กรณีการสำลัก
-
การรักษาด้วยยา
-
เครื่องช่วยหายใจสำหรับโรคหอบหืด และภาวะทางเดินหายใจส่วนบน
-
ยา Epinephrine autoinjector (EpiPen) ใช้แก้ไขอาการสำหรับการเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง
-
การรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ในกรณีของกรดไหลย้อนและรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
-
ยาลดกรดสำหรับโรคกรดไหลย้อน
บางกรณีสามารถปรับปรุงการหายใจได้โดยฝึกการหายใจเฉพาะเพื่อเพิ่มความจุของปอด
การรักษาด้วยแพทย์
ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันทีหากพบปัญหาในการหายใจจนทำให้รู้สึกเป็นลม หรือเกิดอาการที่เกี่ยวข้องกับอาการหัวใจวาย หรือผู้ที่หายใจถี่โดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีปัญหาการหายใจอื่น ๆ ร่วม
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก